วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ซากดึกดำบรรพ์และไดโนเสาร์ในประเทศไทย

 
ซากดึกดำบรรพ์ และไดโนเสาร์
ไดโนเสาร์ (DINOSAUR) ก่อนจะมารู้ จักกับไดโนเสาร์ เรามาทำความรู้จักกับคำว่าซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) กันก่อน
 
ซากกระดูกของไดโนเสาร์ซอโรพอด
 
ซากดึกดำบรรพ์ หรือ ฟอสซิล (fossil) คือซากหรือร่อง รอยของพืชหรือสัตว์ที่ถูกเก็บรักษาไว้โดยธรรมชาติในชั้นหินในเปลือกโลก
ประโยชน์ของฟอสซิล

ฟอสซิลสามารถบอกให้เราทราบถึงชนิดรูปแบบและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในช่วงระยะเวลาทาง ธรณีวิทยารวมทั้งบ่งบอกสภาพแวดล้อมของโลกในอดีตกาลอีกด้วยเนื่องจากในแต่ละช่วงระยะ เวลาทางธรณีวิทยาจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นเฉพาะบางชนิดเท่านั้น
จากการคำนวณหาอายุของหินทั้งในโลกและจากดาวต่างๆในระบบสุริยจักรวาลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากดวงจันทร์ โดยการศึกษาไอโซโทป(isotope)ของธาตุกัมมันตรังสีต่างๆ(radioactive elements) ที่เป็นส่วนประกอบของหิน รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบชั้นหินโดยใช้ซากดึกดำบรรพ์ ทำให้ทราบอายุของโลกโดยประมาณ 4,600,000,000 ปี
(4.6 billion years) และแบ่งช่วง ระยะเวลาทางธรณีดังกล่าวออกเป็น บรมยุค(eon) มหายุค(era) ยุค (period) และ สมัย (epoch)
 
ตารางระยะเวลาทางธรณีวิทยา
EON
(บรมยุค)
ERA
(มหายุค)
PERIOD
(ยุค)
EPOCH
(สมัย)
DURATION
(เวลาล้านปี)
PhanerozoicCenozoicQuaternaryHolocene0.011-Today
Pleistocene1.8-0.011
TertiaryPliocene5-1.8
Miocene23-5
Oligocene38-23
Eocene54-38
Paleocene65-54
MesozoicCretaceous-146-54
Jurassic-208-146
Triassic-245-208
PaleozoicPermian-286-245
CarboniferousPennsylvanian325-286
Mississippian360-325
Devonian-410-360
Silurian-440-410
Ordovician-505-440
Cambrian-544-505
PrecambrianProterozoic-2,500-544
Archean-3,800-2,500
Hadean-4,500-3,800
 
ไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินและสูญพันธุ์หมดสิ้นจากโลกนี้ เมื่อหลายสิบล้านปีมาแล้ว ในปัจจุบันพบเพียงซากกระดูกส่วนต่าง ๆ ซึ่งเราเรียกว่าฟอสซิลของไดโนเสาร์คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์ที่ใหญ่โต มโหฬารหรือเป็นสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์เช่นเดียวกับปลาวาฬ บ้างก็ว่าเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีชีวิตอยู่ในโลก แต่โดยความเป็นจริง ไดโนเสาร์มี ขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมากมาย ตั้งแต่ขนาดใหญ่มหึมา น้ำหนักกว่า 100 ตัน สูงมากกว่า 100 ฟุต จนถึงพวกที่ขนาดเล็ก ๆ บางชนิดก็มีขนาดเล็กกว่าไก่ บางพวกเดินสี่ขา บางพวกก็เดินและวิ่งบนขาหลัง 2 ข้าง บางพวกกินแต่พืชเป็นอาหาร ในขณะที่อีกพวกหนึ่งกินเนื้อเช่นเดียวกับสัตว์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ไดโนเสาร์พวกแรกปรากฎขึ้นมาในโลกในช่วงตอนปลายของยุคไทรแอสสิกเมื่อกว่า225ล้านปีมาแล้วเป็นเวลาที่ทวีปทั้งหลาย ยังต่อเป็นผืนเดียวกัน สัตว์เลื้อยคลานพวกนี้มีชีวิตอยู่และมีวิวัฒนาการตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง 160 ล้านปี กระจัด กระจายแพร่หลายอยู่ทั่วผืนแผ่นดินในโลก แล้วจึงได้สูญพันธุ์ไปหมดในปลายยุคครีเทชียสหรือเมื่อ 65 ล้านปีที่ล่วงมาแล้ว ในขณะที่ต้นตระกูลของมนุษย์เพิ่งจะปรากฎในโลกเมื่อ 5 ล้านปีที่ผ่านมา หลังจาก ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้วถึง 60 ล้านปี และเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ปัจจุบันนั้นเพิ่งเริ่มต้นมาเมื่อไม่เกินหนึ่งแสนปีมานี่เองมนุษย์มักจะคิดว่าไดโนเสาร์นั้นโง่และธรรมชาติสร้างมาไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม จึงทำให้มันต้องสูญพันธุ์ไปทั้งหมด ความคิดนี้ไม่ถูก โดยแท้จริงแล้วไดโนเสาร์ได้เจริญแพร่หลายเป็น เวลายาวนานกว่า 30 เท่า ที่มนุษย์ได้อาศัยอยู่ในโลก ตลอดช่วงเวลาอันยาวนานนี้ไดโนเสาร์ได้มีวิวัฒนา การออกไปเป็นวงศ์สกุลต่าง ๆ กันมากมาย เท่าที่ค้นพบและจำแนกแล้วประมาณ 340 ชนิด และคาดว่า ยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่กำลังรอคอยการค้นพบอยู่ในที่ต่าง ๆ กันทั่วโลก ทุกวันนี้ ทั่วโลกมีคณะสำรวจ ไดโนเสาร์อยู่ประมาณ 100 คณะทำให้มีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ประมาณว่ามี การค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขี้น 1 ชนิดในทุกสัปดาห์ นักโบราณชีววิทยา แบ่งไดโนเสาร์ออกเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ โดยอาศัยความแตกต่างของกระดูกเชิงกราน คือ
  1. พวกซอริสเซียน (Saurischians) มีกระดูกเชิง กรานเป็นแบบสัตว์เลื้อยคลาน คือ กระดูก พิวบิส และอิสเชียมแยกออกจากกันเป็นมุมกว้าง
  2. พวกออรืนิธิสเชียน (Ornithiscians) มีกระดูก เชิงกรานเป็นแบบนก คือ กระดูกทั้ง 2 (พิวบิสและอิสเชียม) ชี้ไปทางด้านหลัง
 
ฟันของไดโนเสาร์ซอโรพอด พบจากแหล่งขุดค้นวัดสักกะวัน จ.กาฬสินธุ์
ฟันกรามล่างของไดโนเสาร์ปากนกแก้ว ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี
 
การค้นพบไดโนเสาร์

นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องฟอสซิลได้ค้นพบไดโนเสาร์มานานแล้ว แต่มีการตั้งชื่อไดโนเสาร์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2384(ค.ศ.1841)ในการประชุมของสมาคมวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าในประเทศอังกฤษโดยศาสตราจารย์ ริชาร์ด โอเวน หลังจากนั้นทำให้ฟอสซิลของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่ได้ค้นพบกันมานานเป็นที่รู้จักแพร่หลาย
คำว่าไดโนเสาร์(dinosaur) มาจากภาษากรีกโดยคำว่า"ไดโน"(deinos) แปลว่าน่ากลัวมาก และ"ซอรอส" หมายถึงสัตว์เลื้อยคลาน

การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์
ปัจจุบันไดโนเสาร์ได้สูญพันธุ์ไปแล้วและมีแนวความคิดหรือสมมติฐานเกี่ยวกับการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ มากมายโดยอ้างถึงสาเหตุต่างๆเช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการระเบิดจากนอกโลก(supernova) เป็นต้น แต่มีอยู่ 2 สมมติฐานที่ได้รับความสนใจและเป็นที่ถกเถียงกัน อย่างเข้มข้นได้แก่
  • การชนโลกของดาวเคราะห์น้อย(Asteroid Impact or K-T Impact)
    การชนทำให้เกิดการระเบิดและฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองสู่บรรยากาศโลก เป็นเสมือนม่านบดบังแสงอาทิตย์ เป็นผลให้เกิดความมืดมิดและความหนาวเย็นอย่างฉับพลันอยู่นานเป็นเดือนๆจนไดโนเสาร์ไม่สามารถ มีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว
    แนวความคิดหรือสมมติฐานนี้อ้างหลักฐานการพบธาตุIridium ปริมาณมากกว่าปกติในชั้น clay บางๆที่มีอายุอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างยุค Cretaceous และ Tertiary(K-T boundary) ใน บริเวณต่างๆของโลก นอกจากนั้นยังพบโครงสร้างที่เชื่อว่าเกิดจากการชนของดาวเคราะน้อย คือChicxulub Structure ที่แหลม Yucatan ในประเทศเมกซิโก
  • การระเบิดของภูเขาไฟที่ที่ราบสูง Deccan ในประเทศอินเดีย(Deccan Traps Volcanism)
    การระเบิดครั้งนี้เป็นการระเบิดที่รุนแรงที่สุดในช่วงอายุของโลกและเป็นการระเบิดที่เนื่องมาจาก mantle plume หรือ hotspot จากใต้โลก เป็นผลทำให้ลาวาชนิด basaltic (basaltic lava) จำนวนมหาศาลไหลสู่เปลือกโลก ปกคลุมพื้นที่กว่า 1 ล้านตารางไมล์ และหนากว่า 1 ไมล์ เกิด mantle degassing ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำถูกนำขึ้นสู่ผิวโลกด้วยอัตราที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดชั้น greenhouse gases ในบรรยากาศกักเก็บความร้อน จากดวงอาทิตย์ไว้ที่ผิวของโลกไม่ให้มีการถ่ายเท อุณหภูมิจึงสูงขึ้น รวมทั้งทำให้วัฏจักรของคาร์บอนและออกซิเจน เปลี่ยนแปลงจนนำมาสู่การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์
 
ส่วนปลายของกระดูกอิสเซียมของไดโนเสาร์โปรซอโรพอด
 
ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ในประเทศไทย
เมื่อไดโนเสาร์ตาย ส่วนอ่อนๆ เช่น เนื้อและหนังจะเน่าเปื่อยหลุดไป เหลือแต่ส่วนแข็ง เช่น กระดูกและฟัน ซึ่งจะถูกโคลนและทรายทับถมเอาไว้ ถ้าการทับถมของโคลนทรายเกิดขึ้นอย่าวรวดเร็วก็จะคงเรียงรายต่อกันในตำแหน่งที่มันเคยอยู่เป็นโครงร่าง แต่หากการทับถมเกิดขึ้นอย่าง ช้าๆกระดูกก็จะมีโอกาสถูกทำให้กระจัดกระจายปะปนกัน การทับถมของโคลนทรายทำให้อากาศและออกซิเจนซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเติบโตของแบคทีเรียไม่สามารถเข้าถึง ซากได้ ขณะเดียวกันน้ำและโคลนที่เต็มไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลไซต์ เหล็กซัลไฟด์และซิลิก้าก็ค่อยๆซึมเข้าไปในเนื้อกระดูก อุดตันโพรงและช่องว่างที่มีอยู่ ทำให้กระดูกเหล่านั้นแกร่งขึ้น สามารถรับน้ำหนักของหิน ดิน ทรายที่ทับถมต่อมาภายหลังได้ นานๆเข้ากระดูกจะกลายเป็นหิน มีเพียงฟันที่ไม่ค่อยจะถูกแปรสภาพเท่าไรเนื่องจากฟันเป็นส่วนที่แข็งที่สุด บางครั้งแร่ธาตุบางอย่างเข้าไปกัดกร่อนละลายกระดูกและทิ้งลักษณะกระดูกไว้เป็นโพรง โพรงเหล่านี้จึงกลายเป็นเสมือนแม่พิมพ์และต่อมาเมื่อแร่ธาตุอื่นเข้าไปอยู่เต็มโพรงก็จะเกิดเป็นรูปหล่อ ของชิ้นกระดูก บางครั้งเมื่อไดโนเสาร์ตายใหม่ๆแล้วถูกทับถมด้วยโคลนแล้วเนื้อหนังเปื่อยเน่าเป็นโพรงก็จะเกิดรูปหล่อของรอยผิวหนังทำให้เรารู้ลักษณะของผิวหนัง ในที่บางแห่งซากไดโนเสาร์ ถูกน้ำพัดพามาทับถมอยู่ด้วยกันเกิดเป็นชั้นสะสมของกระดูกไดโนเสาร์
นอกจากฟอสซิลกระดูก ฟันและร่องรอยของผิวหนังแล้ว ไดโนเสาร์ยังทิ้งรอยเท้าไว้บนโคลน ฟอสซิลรอยเท้าเหล่านี้ทำให้ทราบ ถึงชนิด ลักษณะท่าทางของไดโนเสาร์เช่น เดิน 2 ขาหรือ 4 ขา เชื่องช้าหรือว่องไว อยู่เป็นฝูงหรืออยู่เดี่ยวๆ บางครั้งพบมูลของไดโนเสาร์กลายเป็นฟอสซิล เรียกว่า คอบโปรไลท์ ซึ่งทำให้ทราบถึงขนาดและลักษณะของลำไส้ ไข่ไดโนเสาร์ที่พบเป็นฟอสซิลก็ทำให้ทราบว่าไดโนเสาร์ออกลูกเป็นไข่ บางครั้งพบตัวอ่อนอยู่ในไข่ทำให้รู้ว่าเป็นไข่ของไดโนเสาร์ชนิดไหน นอกจากนี้ยังมีการค้นพบโครงกระดูกไดโนเสาร์ในลักษณะกำลังกกไข่อยู่ในรัง ทำให้รู้ว่าไดโนเสาร์บางชนิดก็ดูแลลูกอ่อนด้วย
เมื่อยุคไดโนเสาร์ผ่านไปหลายล้านปีชั้นของทรายและโคลนยังคงทับซากไดโนเสาร์ไว้จนกลายเป็นหินและถูกผนึก ไว้ในชั้นหินด้วยซีเมนต์ธรรมชาติได้แก่ โคลนทราย จนเมื่อพื้นผิวโลกมีการเคลื่อนตัว ชั้นหินบางส่วนถูกยกตัวสูงขึ้นแล้วเกิดการกัดกร่อนทำลายชั้นหินโดยความร้อนจากดวงอาทิตย์ ความเย็นจากน้ำแข็ง ฝน และลม จนกระทั่งถึงชั้นที่มีฟอสซิลอยู่ทำให้บางส่วนของฟอสซิลโผล่ออกมาเป็นร่องรอยให้นักวิทยาศาสตร์มาขุดค้นต่อไป
เนื่องจากไดโนเสาร์เป็นสัตว์บก มีชีวิตอยู่ในช่วงยุค Triassic ถึง Cretaceous หรือประมาณ 245-65 ล้านปีมาแล้ว ดังนั้นซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์จึงพบอยู่ในชั้นหินตะกอนที่สะสมตัวบนบกในช่วงยุค Triassic ถึง Cretaceous หรือหินในช่วงมหายุค Mesozoic จากการสำรวจธรณีวิทยาในประเทศไทย พบว่าหินที่มีอายุดังกล่าวพบโผล่อยู่ทั่วไปในบริเวณที่ราบสูงโคราชและพบเป็นแห่งๆในภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย ชั้นหินดังกล่าวประกอบด้วย หินดินดาน หินทรายแป้ง หินทรายและ หินกรวดมนมีสีน้ำตาลแดงเป็นส่วนใหญ่ ตอนบนของหินชุดนี้มีชั้นของเกลือหินและยิปซั่มอยู่ด้วย เนื่องจากชั้นหินเหล่านี้มีสีแดงเกือบทั้งหมดจึงเรียกหินชุดนี้ว่า ชั้นหินตะกอนแดง(red bed) ซึ่ง เรารู้จักกันในชื่อ กลุ่มหินโคราช หินกลุ่มนี้มีความหนากว่า 4,000 เมตร ดังนั้นจึงพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากมายหลาย แห่ง เช่น ภูเวียง ภูพาน และภูหลวงเป็นต้น
การค้นหาฟอสซิลของไดโนเสาร์ในประเทศไทยเพิ่งเริ่มต้นในทศวรรษที่ผ่านมานี้เองโดยโครงการศึกษาวิจัยฟอสซิลของสัตว์ มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณี ก่อนหน้านี้มีรายงานการวิจัยฟอสซิลของสัตว์มีกระดูกสันหลังน้อยมาก ในปีพ.ศ.2519 กรมทรัพยากรธรณีได้ค้นพบกระดูกขนาดใหญ่ จากภูเวียง จังหวัดขอนแก่นแต่ผลการวิจัยขณะนั้นทราบเพียงว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด พวกกินพืช เดิน 4 เท้า คอยาว หางยาว มีความยาวประมาณ 15 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นรายงานการ ค้นพบไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมาในปีพ.ศ.2524 และ2525ได้มีการสำรวจที่บริเวณภูเวียงอีกทำให้พบกระดูกส่วนต่างๆของไดโนเสาร์และสัตว์อื่นๆเป็นจำนวนมากอยู่ในชั้นหิน จึง นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการค้นหาฟอสซิลไดโนเสาร์อย่างจริงจัง

ฟอสซิลไดโนเสาร์ในประเทศไทย

ฟอสซิลไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทยจนถึงปัจจุบันมีอายุอยู่ระหว่าง 100-200 ล้านปีมาแล้ว แบ่งเป็นยุคต่างๆดังนี้
  • ยุค Triassic ตอนปลาย
    ในปีพ.ศ.2535 กรมทรัพยากรธรณีสำรวจพบกระดูกสะโพกส่วนหน้าของไดโนเสาร์โปรซอโรพอด ในชั้นหินทรายสีแดงของหมวดหิน น้ำพอง ในเขตอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุประมาณ 200ล้านปี นับเป็นกระดูกไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นการพบฟอสซิลของพวก โปรซอโรพอดเป็นครั้งแรกในภูมิภาคนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับฟอสซิลชนิดนี้จากแหล่งต่างๆทั่วโลก พบว่าโปรซอโรพอดของไทยมีขนาดใหญ่ แข็งแรง อาจยาวถึง 8 เมตร โปรซอโรพอด เป็นไดโนเสาร์ที่กินพืช ฟันมีรอยหยักแบบเลื่อยอย่างหยาบ มีคดยาว เท้าหน้ามีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าเท้าหลัง มีเล็บแหลมคม
  • ยุค Jurassic
    ในปีพ.ศ.2539 คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศสได้พบแหล่งฟอสซิลฟันไดโนเสาร์ที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ในชั้นหินหมวด ภูกระดึง อายุ 150-190 ล้านปี เป็นฟันของไดโนเสาร์เทอโรพอดซึ่งกินเนื้อมีลักษณะหยักแบบฟันเลื่อย ฟันของซอโรพอดและฟันของสเตโกซอร์ซึ่งพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
  • ยุคCretaceous
    ยังไม่พบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์เลย พบเพียงแต่รอยเท้าไดโนเสาร์ ทำให้ทราบถึงรูปร่างลักษณะ ขนาด ชนิดและลักษณะการเดิน ชั้นหินที่พบได้แก่หมวดหินพระวิหารอายุประมาณ 140 ล้านปี บริเวณที่พบมี 4 แห่ง ได้แก่
    • ลานหินป่าชาด ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
      พบรอยเท้าไดโนเสาร์ซึ่งทำให้ทราบว่าเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ เดินด้วยขาหลัง เคลื่อนไหวว่องไว มีขนาดเล็ก นอกจากนี้ ยังพบรอยเท้าไดโนเสาร์พวกคาร์โนซอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่า
    • น้ำใสใหญ่ เขาใหญ่ จังหวัดปราจีณบุรี
      พบรอยเท้าไดโนเสาร์เทอโรพอดซึ่งเป็นไดโนเสาร์เดิน 2 เท้า ขนาดใหญ่ มีรอยเท้ากว้าง 26 ซม. ยาว 31 ซม. รวมทั้งพวก ออร์นิโธพอด และซีลูโรซอร์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็ก รอยเท้ากว้าง 14 ซม. ยาว 13.7 ซม.
    • ภูแฝก กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
      พบรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่พวกคาร์โนซอร์ รอยเท้ากว้าง 40 ซม. ยาว 45 ซม.
    • ภูเก้า จังหวัดหนองบัวลำภู
      พบรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดย่อม แต่ยังไม่ได้ศึกษารายละเอียด
  • ฟอสซิลไดโนเสาร์ในชั้นหินหมวดเสาขัว อายุ 130 ล้านปี
    พบฟอสซิลไดโนเสาร์ที่บริเวณประตูตีหมา ภูเวียง และบริเวณใกล้เคียงหลายชนิดคือ
    • กระดูกที่มีลักษณะใกล้เคียงกับซอโรพอดจากอเมริกาเหนือซึ่งเป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ มีความยาวถึง 15 เมตร คอยาวหางยาว เดิน 4 เท้า กินพืชเป็นอาหาร ต่อมาพบกระดูกไดโนเสาร์ชนิดนี้ที่มีสภาพดีทำให้ทราบว่าเป็น ฟอสซิลของไดโนเสาร์ซอโรพอดสกุลใหม่ซึ่งได้รับ พระราชทานพระราชานุญาตอันเชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเป็นชื่อไดโนเสาร์นี้คือ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน(Phuwiangosaurus sirindhornae)
    • ฟันของไดโนเสาร์สกุลใหม่และชนิดใหม่ชื่อสยามโมซอรัส สุธีธรนี(Siamosaurus suteethorni)
    • กระดูกขาหลังท่อนล่างและขาหน้าท่อนบนของไดโนเสาร์ซีลูโรซอร์(Coelurosaur) ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็ก มากชนิดหนึ่งเดินด้วย 2 ขาหลัง และกินเนื้อเป็นอาหาร
      ดังนั้นบริเวณภูเวียงจึงถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติในปีพ.ศ. 2535 และเป็นอุทยานไดโนเสาร์แห่งแรกใน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ความประทับใจกีฬาสี 2555

     กีฬาสีประจำปี 2555 นี้เห็นว่าจะสนุกกว่าทุกปี เพราะปีนี้มีคณะครูที่ให้ความร่วมมือในการจัดการแข่งขัน โดยมีคณะกรรมการกีฬาสีเป็นผู้จัดหานักกีฬาที่มีความสามารถทุกคนมารวมตัวกัน ทำให้กีฬาสีปีนี้มีความสุขสนุกเข็มข้นกว่าเดิม
     ถึงแม้จะมีนักเรียนเพียงน้อยนิด แต่พวกเราทุกคนทุกคณะสี มีความพร้อมเพรียงให้ความสามัคคีเเป็นอย่างยิ่ง จนทำให้กีฬาสีปีนี้ผ่านไปด้วยดี
     (ต้องขอขอบพระคุณะคุณครูทุกท่าน และเพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกคนที่ได้ส่งเสริมกิจกรรมดีๆนี้มาให้พวกเราสนุกกัน)
ในช่วงปิดเทอมใหญ่สิ้นสุดปี 2554 ดิฉันได้ไปทำงานหารายได้พิเศษ ที่โรงงานทออวนเดชาพานิช จังหวัดขอนแก่น วันแรกที่ไปสมัครซึ่งตรงกับวันที่ 17 มีนาคม 2555 พี่พนักงานโรงงานก็ให้กรอกใบสมัครดิฉันรู้สึกดีใจมากที่จะได้เริ่มทำงานวันแรก

นี่ก็คือโฉมหน้าโรงงานและผลิตภัณฑ์ที่ดิฉันเข้าไปทำงาน



มาสมัครได้วันหนึ่ง เขาก็เริ่มนัดนักเรียนให้มาให้ทำงาน พอดิฉันมาโรงงาน ในวันที่ 19 มีนาคม 2555 ทางพนักงานบอกว่านักเรียนที่มาฝึกงานเต็ม เเต่พี่เขาก็ยังต้องการนักเรียนให้มาฝึกงานอยู่ เพราะบางแผนก ก็ยังขาดนักเรียนที่มาฝึกงาน พี่เขายังตัดสินใจไม่ได้ที่จะรับพนักงานใหม่เพิ่มตอนนี้  พี่พนักงานเขาบอกกับดิฉันว่าเขาต้องปรึกษาหัวหน้าก่อน ถ้าหัวหน้ารับรองพี่จะติดต่อกลับไป (ดิฉันรู้สึกผิดหวังเล็กน้อย)

วันที่ 21 มีนาคม 2555
ทางบ้านหนองค้ากลางฮุง ได้จัดกิจกรรมโครงการบวชบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนที่วัดศรีสะอาด ทางโครงการต้องการให้มียุวชนหรือเยาวชนร่นเยาว์ให้เข้าร่วมโครงการด้วย ดิฉันก็เลยตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการ

พอวันที่ 22 มีนาคม  ทางวัดก็จัดโรงทานขึ้น ดิฉันก็ได้ไปช่วยงาน และดิฉันก็ได้พบกับ คุณครุนริศสรา คุณครูยุพิน คุณครูสิริประภา และคุณครูนิรันด์  ศิริ ท่านก็ได้มาร่วมงานด้วย ช่วงเวลา 15.00 น ก็มีการเริ่มแห่นาคเข้าวัด และเชิญประธานเทศบาลตำบลโนนท่อนกล่าวพิธีเปิดงาน

วันที่  23 มีนาคม ก็เริ่มจัดกิจกรรมอบรมบรรพชาสามเณรและเยาวชนรุ่นเยาว์ พระอาจาร์ที่มาสอนอบรมก็มาให้ความรู้ต่างๆ ในการอบรมเรื่อง ศาสนพิธี การจัดโต๊ะหมู่บูชา การถวายเชิงเทียน การสอนพุทธประวัติ การฝึกสมาธิ ฝึกการเดินจงกลม ซึ่งใช้เวลาสอนระหว่างวันที่ 22มีนาคม - 5เมษายน 2555

ถึงวันที่ 5 เมษายน ดิฉันกได้ผ่านการฝึกอบรมบรรพชาสามเณรและได้รับวุฒิบัติ ไว้เป็นที่ระลึก แต่ก่อนที่ดิฉันจะจบหลักสูตรการอบรม ดิฉันได้รับโทรศัพท์จากพี่พนักงานโรงทออวนเดชาพานิชว่าให้เริ่มมาทำงาน ในวันที่ 2 เมษายน 2555 ดิฉันไม่รู้จะทำไงดี ใจหนึ่งก็อยากจะอบรมให้เสร็จ ก็มันใกล้จะถึงวันที่ 5 แล้ว  อีกใจหนึ่งก็อยากจะทำงาน  กลัวไม่มีงานทำ ฉันจึงตัดสินใจขออนุญาติพระอาจารย์ที่สอน และเจ้าอาวาท ไปทำงานที่โรงอวน

เหตุการวันที่ 2เมายน - 12พฤษภาคม 2555
ฉันได้เริ่มทำงานที่แผนกมัดอวน โดยมีพี่พนักงานคอยสอนให้คำแนะนำต่างๆ และยังได้มีเพื่อนใหม่ที่คอยช่วย นั่นก็คือ พี่ช่อ คนแรกที่รู้จัก ถัดต่อมาก็เป็นพี่มด พี่ก๊อป น้องเฟริ์น น้องนุกนิค และสุดท้ายคือพี่หมี เราในกลุ่มทำงานอย่างสนุกสนาน ไปเรื่อยๆจนถึงวันที่ 12พฤษภาคม จึงหยุดงานและเตรียมตัวไปโรงเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

โรงเรียนในฝัน

                               
                                               
                                                                     ความรู้สึกประทับใจ
   รู้สึกดีใจมากที่ได้เห็นเพื่อนฯพี่ฯน้องฯชาวขอนแก่นพัฒนศึกษาได้ให้ความร่วมมือสามัคคีช่วยเหลือครูบาอาจารย์อย่างตั้งใจทำ ถึงแม้จะมีอุปสรรค์บ้าง แต่นักเรียนทุกคนก็ฟันฝ่าอุปสรรค์นั้นมาได้อย่างง่ายดาย
    ก็ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ให้ความช่วยเหลือ ให้โรงเรียนขอนแก่นพัฒได้เป็นโรงเรียนต้นแบบในฝันอย่างที่รอคอยมา