วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

ปลาวาฬสีน้ำเงิน

วาฬสีน้ำเงิน (อังกฤษBlue whaleชื่อวิทยาศาสตร์Balaenoptera musculus) เป็นวาฬบาลีน (Balaenopteridae) และถือเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก วาฬสีน้ำเงินในขนาดปกติโดยทั่วไปจะยาวประมาณ 26-27 เมตร แต่ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมีความยาว 32 เมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ ประมาณ 100-200 ตัน เฉพาะลิ้นก็มีน้ำหนักเกือบเท่ากับช้างหนึ่งตัว และหัวใจก็มีขนาดเท่ารถยนต์คันหนึ่ง อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้, แอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงในมหาสมุทรแอนตาร์กติกาด้วย
ลูกวาฬจะกินเฉพาะนมแม่ที่มีไขมันสูงถึงร้อยละ 40 มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นชั่วโมงละ 4 กิโลกรัม
กินเคยและแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แต่ก็อาจจะกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเช่น ปลาขนาดเล็กเข้าไปด้วย สามารถดำน้ำลงไปหาอาหารได้ลึกถึง 100 เมตร และปกติจะดำน้ำนาน 20 นาที แต่มีบันทึกสูงสุดว่าดำได้นานถึง 40 นาที และพ่นน้ำได้สูงถึง 9 เมตร ทั้งนี้ วาฬสีน้ำเงินที่โตเต็มวัยกินเคยวันหนึ่งได้มากถึง 4 ตัน
วาฬสีน้ำเงินถูกล่าอย่างหนักเพื่อต้องการไขมันและน้ำมัน โดยเฉพาะในช่วง 70 ปีแรกของศตวรรษที่ 20 คาดว่ามีวาฬสีน้ำเงินราว 500,000 ตัวถูกฆ่าตาย ประชากรวาฬรอบเกาะเซาท์จอร์เจียในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ถูกฆ่าแบบล้างบาง รวมทั้งพวกที่เคยหากินอยู่นอกชายฝั่งญี่ปุ่นด้วย ประชากรวาฬสีน้ำเงินบางกลุ่มลดจำนวนลงถึงร้อยละ 93 จนเข้าสู่สภาพของการเป็นสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ กระทั่งถึงช่วงกลางทศวรรษ 1950 จึงได้มีการอนุรักษ์ขึ้นมาอย่างจริงจัง [3]
นอกจากนี้แล้ว วาฬสีน้ำเงินยังเป็นสัตว์ที่ส่งเสียงร้องได้กว้างไกลที่สุดในโลกอีกด้วย โดยสามารถส่งได้ได้ดังถึง 1,500 กิโลเมตร ในลักษณะของคลื่นเสียงที่มีความหลากหลาย ซึ่งเชื่อกันว่าไม่ได้เป็นไปในการสื่อสารเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังใช้การนำทางอีกด้วย
ปัจจุบัน มีปริมาณวาฬสีน้ำเงินในซีกโลกใต้อยู่ประมาณ 1350 ตัว อีกทั้งมีหลักฐานว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี แต่ยังไม่มีการประมาณจำนวนวาฬชนิดนี้ที่ดีพอในบริเวณอื่นของโลก [4]




สงครามฝิ่น

 สงครามฝิ่น (จีนตัวเต็ม鴉片戰爭จีนตัวย่อ鸦片战争พินอินYāpiàn Zhànzhēng ยาเพี่ยนจ้านเจิงอังกฤษOpium Warsฝิ่นเป็นยาเสพย์ติดที่ชาวจีนติดกันอย่างงอมแงมและติดกันมานาน ในรัชกาลจักรพรรดิหย่งเจิ้น (雍正) เคยมีดำริที่จะทำการปราบปรามฝิ่นแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ชาวจีนส่วนใหญ่ยังติดฝิ่นเรื่อยมา จนถึงรัชสมัยของจักรพรรดิเต้ากวง (道光) ปีที่ 19 พระองค์มีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้าที่จะทำการปราบฝิ่น ทรงแต่งตั้งหลินเจ๋อสวี เป็นผู้ตรวจราชการสองมณฑล ขึ้นเป็นผู้นำในการกวาดล้างฝิ่นจากแผ่นดินจีน

เริ่มกระบวนการปราบปรามฝิ่น

หลินเจ๋อสวีเริ่มงานด้วยการห้ามค้าฝิ่นในมณฑลกวางตุ้ง และจับพ่อค้าฝิ่นชาวจีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดไปคุมตัวในเรือนจำ ใครที่มีหลักฐานว่าค้าฝิ่นจะต้องถูกประหาร และตัดศีรษะเสียบประจาน เพื่อข่มขู่ชาวจีนอื่น ๆ ให้เกรงกลัวจะได้ไม่กล้าค้าฝิ่นอีก นอกจากปราบปรามการค้าฝิ่นในหมู่ชาวจีน หลินเจ๋อสวี ยังได้พยายามฟื้นฟูสุขภาพชาวจีนที่ติดฝิ่น โดยจัดโครงการรณรงค์การอดฝิ่น มีชาวจีนหลายคนที่อดฝิ่นได้สำเร็จ ทางการก็จะประกาศเกียรติคุณ เพื่อให้คนอื่น ๆ เอาเป็นแบบอย่างอันดีที่จะพยายามเลิกฝิ่นให้ได้ จากนั้นหลินเจ๋อสวีก็สั่งห้ามเรือพ่อค้าต่างชาติที่บรรทุกฝิ่นเข้ามาในอาณาจักรจีน โดยห้ามเรือล่องเข้าแม่น้ำจูเจียงมาเป็นเด็ดขาด และประกาศให้พ่อค้าต่างชาติที่มีฝิ่นในครอบครอง ต้องนำฝิ่นมาส่งมอบให้ทางการจีน แต่พ่อค้าชาวต่างชาติไม่สนใจคำสั่งของหลินเจ๋อสวี ยังคงค้าฝิ่นต่อไป หลินเจ๋อสวีจึงสั่งปิดล้อมย่านการค้าของคนต่างชาติใน และบีบให้พ่อค้าต่างชาติส่งฝิ่นให้ทางการจีน หลังจากปิดล้อมอยู่สองวัน พวกพ่อค้าต่างชาติก็ยอมมอบฝิ่นออกมาในที่สุด ฝิ่นที่ยึดได้ครั้งนี้ หลินสั่งให้เอาฝิ่นทั้งหมดไปละลายกับกรดน้ำส้มกับเกลือและน้ำ เพื่อฆ่าฤทธิ์ของฝิ่น แล้วก็โยนทิ้งทะเลไปจนหมดสิ้น ผลจากการปราบปรามฝิ่นอย่างจริงจังของหลินเจ๋อสวี ทำให้ชาวต่างชาติโดยเฉพาะพ่อค้าอังกฤษที่มีผลประโยชน์จากการค้าฝิ่นมหาศาลไม่พอใจอย่างยิ่ง เพราะฝิ่นที่หลินเจ๋อสวีทำลายไปมีจำนวนมหาศาลถึง 20,000 ลัง คิดเป็นน้ำหนักสองล้านปอนด์ครึ่ง และเนื่องจากฝิ่นเป็นสินค้าที่มีค่าสูง จึงยังมีพ่อค้าต่างชาติทั้งชาวอังกฤษและโปรตุเกส ยังคงลอบค้าฝิ่น แต่เปลี่ยนฐานการค้าจากตัวแผ่นดินใหญ่ในมณฑลกวางตุ้ง ไปอยู่ที่มาเก๊า และเกาะฮ่องกง ซึ่งมีทำเลดีกว่าแทน

สงครามปะทุ

การกระทบกระทั่งระหว่างจีนกับอังกฤษยังคงมีต่อมา เมื่อชาวจีนถูกกะลาสีเรือชาวอังกฤษฆ่าตายที่เกาลูน หลินเจ๋อสวีให้ทางอังกฤษส่งตัวกะลาสีที่ก่อเหตุมารับโทษตามกฎหมายจีน แต่กัปตันเอลเลียตของอังกฤษปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ผลจากการกระทบกระทั่งกันครั้งนี้ ทำให้หลินเจ๋อสวีขับไล่ชาวอังกฤษทั้งหมดออกจากมาเก๊า แต่พ่อค้าเหล่านี้ก็ไปตั้งหลักที่ฮ่องกงแทน กัปตันเอลเลียต ขอความช่วยเหลือไปทางรัฐบาลอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษในยุคของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นยุคสมัยของการล่าอาณานิคม ถือเป็นเหตุในการทำสงครามกับจีน โดยเริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2382(ค.ศ. 1839) โดยสั่งให้บริษัทอีสต์อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทการค้าของรัฐบาลอังกฤษ ส่งกองเรือไปช่วยที่ฮ่องกง เมื่อกองเรือรบกองแรกมาถึงซึ่งประกอบไปด้วยเรือปืนจำนวน 28 ลำ หลินเจ๋อสวีไม่เคยมีประสบการณ์กับการรบกับอาวุธที่ทันสมัยเช่นนี้ จึงถูกโจมตีจนกองเรือจีนพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว หนำซ้ำพวกขุนพลของจีนที่สู้แพ้อังกฤษ ยังไม่กล้ารายงานสถานการณ์ตามความเป็นจริง ทำให้หลินเจ๋อสวีเข้าใจผิดว่ากองเรือของจีนเอาชนะกองเรืออังกฤษได้ จึงถวายรายงานกับพระจักรพรรดิเต้ากวงว่า จีนได้รับชัยชนะ และยิ่งแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อพวกอังกฤษยิ่งขึ้น ในที่สุด ในปี พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ฝ่ายกองเรือรบอังกฤษก็บุกเข้าปากแม่น้ำจูเจียง และยึดเมืองกวางซูเอาไว้ได้อย่างง่ายดาย พร้อมทั้งเคลื่อนกองเรือรุกเข้ามาในแผ่นดินจีนขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังส่งกองเรือจำนวนหนึ่งไปยึดเมืองท่าริมทะเลเอาไว้ด้วย ความทราบถึงพระจักรพรรดิเต้ากวง จึงทรงตำหนิหลินเจ๋อสวีอย่างรุนแรง และปลดหลินเจ๋อสวีจากตำแหน่งทั้งหมด เนรเทศไปยังซินเจียง และส่งแม่ทัพฉีซานมาแทน ฉีซานไม่สามารถต้านทานแสนยานุภาพของอังกฤษได้

ไฟล์: ฝิ่นสงครามโลกครั้งที่สอง guangzhou.jpg-


การปะทะที่กว่างโจวระหว่างสงครามฝิ่นครั้งที่สอง


ผลลัพธ์

นปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) กองทัพอังกฤษบุกเข้ายึดเมืองนานกิงได้ จนกระทั่งในที่สุดจำเป็นต้องเจรจาสงบศึกกับอังกฤษ ที่เมืองนานกิงนั่นเอง และยอมเซ็นสนธิสัญญาที่ชาวจีนถือว่าอัปยศที่สุด ที่เรียกว่าสนธิสัญญานานกิงในปีเดียวกันนั้น เนื้อหาในสนธิสัญญาฉบับนี้ อังกฤษบังคับให้จีนเปิดเมืองท่าตามชายทะเลเพื่อค้าขายกับอังกฤษ รวมทั้งขอสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือดินแดนจีน คนที่ถือสัญชาติอังกฤษ จะไม่ต้องขึ้นศาลจีน รวมทั้งสิทธิใด ๆ ที่อังกฤษได้ ต่างชาติอื่น ๆ ก็ต้องได้ด้วย แม้ว่าเนื้อหาของสนธิสัญญานี้ จีนต้องเสียเปรียบอังกฤษเป็นอย่างมาก แต่จีนก็จำต้องเซ็นสัญญาเพื่อยุติสงครามที่จีนเสียเปรียบอย่างเทียบไม่ติด ต่อมาจีนก็สูญเสียเอกราชบนคาบสมุทร เกาลูนไปอีก ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) ตามสนธิสัญญาปักกิ่ง ในรัชกาลสมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิง (咸丰) ปีที่ 10 และอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) ตรงกับรัชกาลจักรพรรดิกวังซวี่ (光緒帝) ปีที่ 24 สูญเสียพื้นที่เขตดินแดนใหม่ (New Territories) ให้กับสหราชอาณาจักรในสัญญาเช่า 99 ปี นับแต่นั้น เซินเจิ้นและฮ่องกงก็ถูกแบ่งแยกการปกครองออกจากกัน และภายใน พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) คนจีนกว่า 13 ล้านคน ยังคงติดฝิ่นอยู่ เศรษฐกิจของจีนถูกทำลายลงอย่างย่อยยับจากการที่จีนต้องนำเข้าฝิ่นเป็นจำนวนมากมายมหาศาลและราชวงศ์ชิงก็ตกอยู่ในภาวะแห่งการล่มสลาย
ไฟล์:Opiumwar.jpg

 สงครมฝิ่น

วิวัฒนาการของมนุษย์

วิวัฒนาการของมนุษย์ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง พัฒนาหรือวิวัฒนาการ ที่ทำให้สิ่งมีชีวิต (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทลิงใหญ่ - Ape) มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ กลายเป็นสปีชีส์ใหม่ จนในที่สุดพัฒนาไปเป็นมนุษย์ปัจจุบัน
วิวัฒนาการของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีววิทยา เป็นสาขาวิชาที่ทำการสืบค้นอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อทำความเข้าใจและอธิบาย ว่าการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาจากลิงใหญ่กลายเป็นมนุษย์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
การศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์ รวบรวมวิทยาศาสตร์เข้าไว้หลายแขนง ที่เด่นชัดก็คือมานุษยวิทยากายภาพ (physical anthropology) และพันธุศาสตร์ (genetics)
คำว่า 'มนุษย์' ในบริบทของการวิวัฒนาการของมนุษย์ หมายถึงจีนัส โฮโม (Homo) แต่การศึกษาวิวัฒนาการมนุษย์ก็มักจะรวมสมาชิกตระกูลมนุษย์ เรียกว่า โฮมินิด(hominid) (Family Hominidae) อย่าง Australopithecines เข้าไปด้วย

ประวัติ

การศึกษามานุษยวิทยากายภาพ (Physical Anthropology, Paleoanthropology) ยุคใหม่ เริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีการค้นพบซากมนุษย์นีแอนเดอร์ธาล(Neanderthal man) และหลักฐานต่างๆ ของมนุษย์ถ้ำ
ความคิดที่ว่ามนุษย์มีความคล้ายคลึงกับลิงใหญ่มีมานานแล้ว แต่ความคิดเกี่ยวกับทฤษฏีวิวัฒนาการ ที่เป็นที่ยอมรับเริ่มขึ้น เมื่อ ชาร์ลส์ ดาร์วิน(Charles Darwin) ตีพิมพ์หนังสือ On the Origin of Species ในปี ค.ศ. 1859 และหนังสือเล่มถัดมาของเขา Descent of Man
ตั้งแต่สมัยของ คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) ได้จัดให้ ลิงใหญ่อยู่ในกลุ่ม ที่เป็นญาติใกล้ชิดมนุษย์ โดยดูจากลักษณะภายนอก
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาดกันว่า ลิงชิมแปนซีและลิงกอริลล่าเป็นญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของมนุษย์ ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

ก่อนจะมาเป็นมนุษย์

เราสามารถสืบหาวิวัฒนาการของไพรเมตย้อนหลังไปได้ถึงประมาณ 60 ล้านปีก่อน ไพรเมตมีบรรพบุรุษร่วมกันกับสัตว์จำพวกค้างคาว ซึ่งอาจมีชีวิตอยู่ช่วงประมาณยุค ครีเทเชียส (ทันยุคท้ายๆของพวกไดโนเสาร์)
ไพรเมต (เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ทราบกัน) มาจากบริเวณอเมริกาเหนือ แพร่กระจายผ่าน ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ในยุค Paleocene และ Eocene
เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงเป็นหนาวเย็นในต้นยุค Oligocene (ประมาณ 40 ล้านปีก่อน) ไพรเมตสูญพันธ์ไปเป็นจำนวนมาก เหลืออยู่เพียงบริเวณแอฟริกาและเอเชียใต้
บรรพบุรุษยุคแรกๆของโฮมินิด (ลิงใหญ่และมนุษย์) ออกจากแอฟริกาเข้าสู่ยุโรปและเอเชีย เมื่อประมาณ 17 ล้านปีก่อน ซึ่งต่อมาวิวัฒนาการไปเป็น บรรพบุรุษของลิงใหญ่ ลิงกอริลลา และลิงชิมแปนซี และก็มีสายพันธุ์หนึ่ง วิวัฒนาการกลายเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์เมื่อประมาณ 6 ล้านปีก่อน
แม้จะยังไม่ได้ข้อมูลจากฟอสซิล แต่การตรวจสอบทางโมเลกุล (ดีเอ็นเอ) ก็บอกให้เราทราบว่า บรรพบุรุษของมนุษย์ วิวัฒนาการแยกจากลิงกอริลลาเมื่อประมาณ 8 ล้านปีก่อน และแยกจากลิงชิมแปนซี เมื่อประมาณ 4 ล้านปีก่อน
เมื่อ 8 ล้านปีก่อน ขณะนั้นทวีปแอฟริกาทั้งทวีปถูกปกคลุมด้วยป่าฝนที่รกทึบ แต่การกำเนิดของเทือกเขาหิมาลัย ที่สูงเทียมเมฆในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้ทิศทางของลมมรสุมต่างๆ เปลี่ยนไป ส่งผลให้ฝนที่ตกในแอฟริกาลดลง ทวีปแอฟริกาจึงกลายสภาพเป็นป่าโปร่งแทนที่จะเป็นป่าฝนที่รกทึบ (แต่ก็ยังมีป่าฝนอยู่บ้างเป็นแห่งๆ)

Australopithecus afarensis

ป่าโปร่ง มีต้นไม้ที่น้อยกว่าป่าฝน ลิงที่อยู่ในป่าจึงต้องปรับตัวให้อยู่บนพื้นดินได้ด้วย การปรับตัวเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนในที่สุด 3,900,000 ปีก่อน ลิงกลุ่มนั้นได้วิวัฒนาการมาเป็นสปีชีส์ Australopithecus afarensis ซึ่งสามารถใช้ชีวิตได้ทั้งบนต้นไม้และบนพื้นดิน สามารถเดินสองขาและเดินสี่ขาได้ ต่างจากลิงในอดีตที่ไม่สามารถเดินสองขาได้
ส่วนสาเหตุของการปรับตัวให้เดินสองขาได้นั้น ในอดีต นักวิทยาศาสตร์คาดว่า อาจเป็นเพราะการเดินสองขานั้นสามารถยืดตัวให้สูงขึ้น มองเห็นศัตรูได้จากระยะไกล แต่ว่า การทำตัวให้สูงขึ้น ย่อมทำให้ศัตรูเห็นตัวได้ง่ายขึ้นเช่นกัน เหตุผลด้านนี้จึงตกไป เพราะในความเป็นจริงแล้ว การเดินสองขานั้น มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานในร่างกายมากกว่าการเดินสี่ขา ดังนั้น Australopithecus afarensis สามารถประหยัดพลังงานในร่างกาย เพื่อทำกิจกรรมอื่นได้ดีขึ้น เช่น การปกป้องอาณาเขต หรือ การสืบพันธุ์
1 ล้านปีถัดมา เมื่อ 2,900,000 ปีก่อน Australopithecus afarensis เริ่มมีวิวัฒนาการ และพัฒนาเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ คือ Paranthropus boisei ซึ่งมีพละกำลังเพิ่มขึ้น เข้ามาแทนที่
เวลาผ่านไป 400,000 ปี ในช่วง 2,500,000 ปีก่อน โลกเกิดภาวะเย็นตัวลง เกิดน้ำแข็งยักษ์สะสมที่ขั้วโลก ทำให้น้ำที่เป็นของเหลวลดจำนวนลง แผ่นดินทั่วโลกจึงแล้งขึ้นเล็กน้อย รวมทั้งแอฟริกาด้วย แอฟริกาในช่วงนี้กลายเป็นทวีปที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ ตั้งแต่ป่าฝนรกๆ ป่าโปร่ง ทุงหญ้า หรือทะเลทราย

มนุษย์

การกระจายตัวของประชากรมนุษย์และวิวัฒนาการ

Homo habilis

สภาพแวดล้อมที่แตกต่าง ทำให้สิ่งมีชีวิตในแอฟริกาเกิดการปรับตัวที่แตกต่าง กลายเป็นมนุษย์วานรหลายสปีชีส์ อยู่รวมกันในบริเวณต่างๆ ของแอฟริกา แต่ทว่า สปีชีส์หนึ่งในนั้น ไม่ใช่มนุษย์วานร แต่เป็นมนุษย์
สปีชีส์แรกที่นับได้ว่าเป็นมนุษย์ ปรากฏขึ้นในแอฟริกาเมื่อ 2,200,000 ปีก่อน ชื่อว่าสปีชีส์ Homo habilis (Homo เป็นภาษาละติน แปลว่า มนุษย์) พวกเขาวิวัฒนาการให้เป็นสปีชีส์ที่มีความคล่องตัวทุกกรณี และมีสมองที่ฉลาดกว่าสปีชีส์อื่นๆ เขาเป็นสปีชีส์แรกที่คิดค้นการทำอาวุธเครื่องมือต่างๆ จากหิน แต่ไม่มีพละกำลังมากเท่ากลุ่ม Paranthropus boisei และยังไม่มีการสื่อสารด้วยการพูด
ทักษะของฮาบิลิส ทำให้พวกเขาอยู่รอดได้ในหลายสภาพภูมิศาสตร์ เพราะรู้จักการปรับตัวและการใช้สมอง จนกระทั่งเวลาผ่านไป 300,000 ปี Homo ergaster ปรากฏขึ้นบนโลกเมื่อ 1,900,000 ปีก่อน และเป็นเผ่าแรกที่สือสารด้วยการพูดได้ เป็นคู่แข่งทางวิวัฒนาการของฮาบิลิสที่ได้เปรียบฮาบิลิส เพราะเออร์กัสเตอร์ มีสมองที่ฉลาดกว่า และมีการพูดเป็นการสื่อสาร จนกระทั่งฮาบิลิสได้สูญพันธุ์ไปเมื่อ 1,600,000 ปีก่อน

Homo erectus

เออร์กัสเตอร์ สูญพันธุ์ไปเมื่อ 1,400,000 ปีก่อน โดยมี Homo erectus ก้าวแทนที่ มีวิวัฒนาการมาจาก habilis โดยตรง ก้าวเข้ามาต่อสู้ในโลกแห่งความจริงแทนฮาบิลิส มีความเจริญใกล้เคียงมนุษย์ปัจจุบัน หลังจากอีเร็คตัสกำเนิดขึ้นมาได้ 200,000 ปี บอยเซอิก็สูญพันธุ์ไป

Homo sapiens

อีเร็คตัสมีชีวิตอยู่นาน 1,240,000 ปี ก่อนจะสูญพันธุ์ไปเมื่อ 250,000 ปีก่อน เพราะได้วิวัฒนาการโดยตรงมาเป็น Homo sapiens ซึ่งก็คือมนุษย์ปัจจุบัน เข้าแทนที่หลังจากนั้นเป็นต้นมา
ดูเหมือนว่าพวกโฮมินิด จะเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถพัฒนา การดำรงชีวิต ซากฟอสซิลจากยุคนั้น ที่พบก็เช่น สายพันธุ์
  • Sahelanthropus tchadensis (7-6 ล้านปีก่อน)
  • Orrorin tugenensis (6 ล้านปีก่อน)
และในยุคต่อๆมาก็พบ
  • Ardipithecus (5.5-4.4 ล้านปีก่อน)
  • Australopithecus (4-2 ล้านปีก่อน)
  • Paranthropus (3-1.2 ล้านปีก่อน)
  • Homo (1.98 ล้านปีก่อน-ปัจจุบัน)

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556



การเกิดภูเขาไฟ
เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น
สิ่งที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟเมื่อภูเขาไฟระเบิดก็คือ หินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหินและแก๊สต่างๆ โดยจะพุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ (หินหนืดถ้าถูกพุ่งออกมาจากบนพื้นผิวโลกเรียกว่า ลาวา แต่ถ้ายังอยู่ใต้ผิวโลกเรียกว่า แมกมา)
บริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟ แนวรอยต่อระหว่างเพลตจะเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟได้มากที่สุด โดยเฉพาะบริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ใต้พื้นมหาสมุทรลงไปสู่บริเวณใต้เปลือกโลกที่เป็นส่วนของทวีป เพราะเปลือกโลกแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงไปจะถูกหลอมกลายเป็นหินหนืด จึงแทรกตัวขึ้นมาบริเวณผิวโลกได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น บริเวณที่อยู่ห่างจากรอยต่อระหว่างเปลือกโลก ก็อาจเกิดภูเขาไฟได้เช่นกัน ซึ่งเกิดขึ้นโดยกระบวนการที่หินหนืดถูกดันขึ้นมาตามรอยแยกในชั้นหิน

ประเภทของภูเขาไฟ
1. ภูเขาไฟแบบกรวยสูง (Steep cone)
     · เกิดจากลาวาที่มีความเป็นกรด หรือ Acid lava cone
     · รูปกรวยคว่ำของภูเขาไฟเกิดจากการทับถมของลาวาที่เป็นกรด เพราะประกอบด้วยธาตุซิลิกอนมากกว่าธาตุอื่นๆ
     · ลาวามีความข้นและเหนียว จึงไหลและเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ แต่จะแข็งตัวเร็ว ทำให้ไหล่เขาชันมาก
     · ภูเขาไฟแบบนี้จะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง

2. ภูเขาไฟแบบโล่ (Shield Volcano)
     · เกิดจากลาวาที่มีความเป็นเบส (Basic lava volcano) เพราะประกอบด้วยแร่เหล็กและแมกนีเซียม
     · ลาวามีลักษณะเหลว ไหลได้เร็วและแข็งตัวช้า
     · การระเบิดไม่รุนแรง จะมีเถ้าถ่านและเศษหินก้อนเล็ก และควันพ่นออกมาบริเวณปากปล่อง
3. ภูเขาไฟแบบกรวยกรวด (Ash and cinder cone)
     มีลักษณะเป็นกรวยสูงขึ้น ฐานแคบ เป็นภูเขาไฟที่มีการระเบิดรุนแรงที่สุด

4. แบบสลับชั้น (Composite cone)

    -  เป็นภูเขาที่มีรูปร่างสมมาตร (Symmetry) 
    -  กรวยของภูเขาไฟมีหลายชั้น บางชั้นประกอบด้วยลาวา และเถ้าถ่านสลับกันไป 
    -  ถ้ามีการระเบิดรุนแรงจะมีลาวาไหลออกมาจากด้สนข้างของไหล่เขา 
    -  เป็นภูเขาไฟที่มีปล่องขนาดใหญ่ และมีแอ่งปากปล่อง (Crater) ขนาดใหญ่ด้วย


ประโยชน์ของการเกิดภูเขาไฟ
      1.แผ่นดินขยายกว้างขึ้นหรือสูงขึ้น
      2.เกิดเกาะใหม่ภายหลังที่เกิดการปะทุใต้ทะเล
     3.ดินที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุต่างๆ
     4.เป็นแหล่งเกิดน้ำพุร้อน

โทษของการเกิดภูเขาไฟ
     1.เมื่อภูเขาไฟระเบิดจะมีเขม่าควันและก๊าซบางชนิดซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้
     2.การปะทุของภูเขาไฟอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้
     3.ชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ใกล้เคียงเป็นอันตราย
     4.สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด

ภูเขาไฟในประเทศไทย
     - ภูเขาไฟดอยผาคอกจำป่าแดด และปล่องภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จังหวัดลำปาง
    - ภูพระอังคาร ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล

ประวัติของเมนเดล
    
โยฮันน์ เกรกอร์ เมนเดล เกิดในปี ค.ศ.1822 เป็นบาทหลวงชาวออสเตรีย และในขณะเดียวกันเขาก็เป็นอาจารย์สอนหนังสือให้แก่นักเรียน ถึงเรื่องพันธุกรรมด้วย เมนเดลมีความสนใจศึกษาด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านพันธุศาสตร์ เขาได้ใช้สถานที่ภายในบริเวณวัดเพื่อทำการทดลองสิ่งต่างๆ ที่เขาสนใจ เมนเดลเริ่มต้นทดลองเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1856 เรื่องที่เขาทำการทดลองคือ การรวบรวมต้นถั่วลันเตา( Pisum sativum )หลายๆพันธุ์นำมาผสมกันหลายๆวิธีเขาใช้เวลาทดลองต่อเนื่องถึง ปี จนได้ข้อมูลมากเพียงพอ ในปี ค.ศ.1865 เมนเดล จึงได้ รายงานผลการทดลอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการผสมพันธุ์ ต้นถั่ว ให้แก่ที่ประชุม Natural History Society ในกรุงบรุนน์ ( Brunn ) ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ออกไปทั่วทวีปยุโรปและอเมริกาในปีต่อมา
      ปี ค.ศ.
1866 ผลงานของเขาถูกปล่อยไว้นานถึง 34 ปี จนกระทั่งปี ค.ศ.1900 ได้มีนักชีววิทยา 3ท่าน คือ ฮูโก เดฟรีส์ ชาวฮอลันดา คาร์ล คอเรนส์ ชาวเยอรมันและ เอริช ฟอน แชร์มาค ชาวออสเตรเลีย ได้ทดลองผสมพันธุ์พืชชนิดอื่นๆ และได้ผลการทดลองตรงกับที่เมนเดลเคยรายงานไว้ ทำให้เมนเดลเป็นที่รู้จัก ในวงการพันธุศาสตร์นับแต่นั้นเป็นต้นมา และ เมนเดลยังได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์
           
สิ่งมีชีวิตที่ควรเลือกมาใช้ในการศึกษาทางพันธุศาสตร์ ควรมีลักษณะดังนี้
1. ปลูกง่าย อายุสั้น ผลดก
2. 
มีการแปรผันมาก มีความแตกต่างของลักษณะที่ต้องศึกษาชัดเจนและสามารถหาพันธุ์แท้ได้ง่าย
3. 
มี RECOMBINATION คือการรวมกันของลักษณะของพ่อและแม่เมื่อมีการผสมพันธุ์
4. 
ความคุมการผสมพันธุ์ได้สามารถกำหนดให้มีลักษณะต่างๆเข้าผสมกันได้ตามต้องการ 
การทดลองของเมนเดล
     
เมนเดลประสบผลสำเร็จในการทดลอง จนตั้งเป็นกฎเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่มายังลูกหลานในช่วงต่อๆมาได้เนื่องจากสาเหตุสำคัญสองประการคือ
1. เมนเดลรู้จักเลือกชนิดของพืชมาทำการทดลอง พืชที่เมนเดลใช้ในการทดลองคือถั่วลันเตา (Pisum sativum) ซึ่งมีข้อดีในการศึกษาด้านพันธุศาสตร์หลายประการ เช่น
    1.1 เป็นพืชที่ผสมตัวเอง (self- fertilized) ซึ่งสามารถสร้างพันธุ์แท้ได้ง่าย หรือจะทำการผสมข้ามพันธุ์ (cross-fertilized) เพื่อสร้างลูกผสมก็ทำได้ง่ายโดยวิธีผสมโดยใช้มือช่วย (hand pollination)
    1.2 เป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ต้องทำนุบำรุงรักษามากนัก ใช้เวลาปลูกตั้งแต่ปลูก จนถึงเก็บเกี่ยวภายในหนึ่งฤดูปลูก (growing season) หรือประมาณ 3 เดือน เท่านั้น และยังให้เมล็ดในปริมาณที่มากด้วย
    1.3 เป็นพืชที่ มีลักษณะทางพันธุกรรม ที่แตกต่างกันชัดเจนหลายลักษณะ ซึ่งในการทดลองดังกล่าว เมนเดลได้นำมาใช้ 7 ลักษณะด้วยกัน
2. เมนเดลรู้จักวางแผนการทดลอง
    2.1 เลือกศึกษาการถ่ายทอดลักษณะของถั่วลันเตาแต่ละลักษณะก่อน เมื่อเข้าใจหลักการถ่ายทอดลักษณะนั้น ๆ แล้ว เขาจึงได้ศึกษาการถ่ายทอดสองลักษณะไปพร้อม ๆ กัน
    2.2 ในการผสมพันธุ์จะใช้พ่อแม่ พันธุ์แท้ (pure line) ในลักษณะที่ตรงกันข้ามกัน มาทำการผสมข้ามพันธุ์เพื่อสร้างลูกผสมโดยใช้มือช่วย (hand pollination )
    2.3 ลูกผสมจากข้อ 2.2 เรียกว่าลูกผสมช่วงที่ 1 หรือ F1( first filial generation) นำลูกผสมที่ได้มาปลูกดูลักษณะที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร บันทึกลักษณะและจำนวนที่พบ
    2.4 ปล่อยให้ลูกผสมช่วงที่ 1 ผสมกันเอง ลูกที่ได้เรียกว่า ลูกผสมช่วงที่ 2 หรือ F2( second filial generation) นำลูกช่วงที่ 2 มาปลูกดูลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร บันทึกลักษณะและจำนวนที่พบ
ลักษณะต่าง ๆ ของถั่วลันเตาที่เมนเดล ใช้ในการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม
1. ลักษณะของเมล็ด - เมล็ดกลม และ เมล็ดย่น (round & wrinkled)
2. สีของเปลือกหุ้มเมล็ด - สีเหลือง และ สีเขียว (yellow & green)
3. สีของดอก - สีม่วงและ สีขาว (purple & white)
4. ลักษณะของฝัก - ฝักอวบ และ ฝักแฟบ (full & constricted)
5. ลักษณะสีของฝัก - สีเขียว และ สีเหลือง (green & yellow )
6. ลักษณะตำแหน่งของดอก-ดอกติดอยู่ที่กิ่ง และเป็นกระจุกที่ปลายยอด (axial & terminal)
7. ลักษณะความสูงของต้น - ต้นสูง และ ต้นเตี้ย (long & short)
ข้อสรุปจากการวิเคราะห์ของเมนเดล1. การถ่ายทอดลักษณะหนึ่งลักษณะใดของสิ่งมีชีวิตถูกควบคุมโดยปัจจัย (fector) เป็นคู่ๆ ต่อมาปัจจัยเหล่านั้นถูกเรียกว่า ยีน (gene)
2. ยีนที่ควบคุมลักษณะต่างๆจะอยู่กันเป็นคู่ๆ และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้
3. ลักษณะแต่ละลักษณะจะมียีนควบคุม 1 คู่ โดยมียีนหนึ่งมาจากพ่อและอีกยีนมาจากแม่
4. เมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์(gamete) ยีนที่อยู่เป็นคู่ๆจะแยกออกจากกันไปอยู่ในเซลล์สืบพันธุ์ของแต่ละเซลล์และยีนเหล่านั้นจะเข้าคู่กันได้ใหม่อีกในไซโกต
5. ลักษณะที่ไม่ปรากฏในรุ่น F
1
  ไม่ได้สูญหายไปไหนเพียงแต่ไม่สามารถแสดงออกมาได้
6. ลักษณะที่ปรากฏออกมาในรุ่น F
1
   มีเพียงลักษณะเดียวเรียกว่า ลักษณะเด่น ( dominant) ส่วนลักษณะที่ปรากฏในรุ่น F2  และมีโอกาสปรากฏในรุ่นต่อไปได้น้อยกว่า เรียกว่า ลักษณะด้อย (recessive)
7. 
ในรุ่น F2 จะได้ลักษณะเด่นและลักษณะด้อยปรากฏออกมาเป็นอัตราส่วน เด่น ด้อย = 3 : 1

                            VDO(กฏข้อ 2 ของเมลเดล)


วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ซากดึกดำบรรพ์และไดโนเสาร์ในประเทศไทย

 
ซากดึกดำบรรพ์ และไดโนเสาร์
ไดโนเสาร์ (DINOSAUR) ก่อนจะมารู้ จักกับไดโนเสาร์ เรามาทำความรู้จักกับคำว่าซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) กันก่อน
 
ซากกระดูกของไดโนเสาร์ซอโรพอด
 
ซากดึกดำบรรพ์ หรือ ฟอสซิล (fossil) คือซากหรือร่อง รอยของพืชหรือสัตว์ที่ถูกเก็บรักษาไว้โดยธรรมชาติในชั้นหินในเปลือกโลก
ประโยชน์ของฟอสซิล

ฟอสซิลสามารถบอกให้เราทราบถึงชนิดรูปแบบและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในช่วงระยะเวลาทาง ธรณีวิทยารวมทั้งบ่งบอกสภาพแวดล้อมของโลกในอดีตกาลอีกด้วยเนื่องจากในแต่ละช่วงระยะ เวลาทางธรณีวิทยาจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นเฉพาะบางชนิดเท่านั้น
จากการคำนวณหาอายุของหินทั้งในโลกและจากดาวต่างๆในระบบสุริยจักรวาลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากดวงจันทร์ โดยการศึกษาไอโซโทป(isotope)ของธาตุกัมมันตรังสีต่างๆ(radioactive elements) ที่เป็นส่วนประกอบของหิน รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบชั้นหินโดยใช้ซากดึกดำบรรพ์ ทำให้ทราบอายุของโลกโดยประมาณ 4,600,000,000 ปี
(4.6 billion years) และแบ่งช่วง ระยะเวลาทางธรณีดังกล่าวออกเป็น บรมยุค(eon) มหายุค(era) ยุค (period) และ สมัย (epoch)
 
ตารางระยะเวลาทางธรณีวิทยา
EON
(บรมยุค)
ERA
(มหายุค)
PERIOD
(ยุค)
EPOCH
(สมัย)
DURATION
(เวลาล้านปี)
PhanerozoicCenozoicQuaternaryHolocene0.011-Today
Pleistocene1.8-0.011
TertiaryPliocene5-1.8
Miocene23-5
Oligocene38-23
Eocene54-38
Paleocene65-54
MesozoicCretaceous-146-54
Jurassic-208-146
Triassic-245-208
PaleozoicPermian-286-245
CarboniferousPennsylvanian325-286
Mississippian360-325
Devonian-410-360
Silurian-440-410
Ordovician-505-440
Cambrian-544-505
PrecambrianProterozoic-2,500-544
Archean-3,800-2,500
Hadean-4,500-3,800
 
ไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินและสูญพันธุ์หมดสิ้นจากโลกนี้ เมื่อหลายสิบล้านปีมาแล้ว ในปัจจุบันพบเพียงซากกระดูกส่วนต่าง ๆ ซึ่งเราเรียกว่าฟอสซิลของไดโนเสาร์คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์ที่ใหญ่โต มโหฬารหรือเป็นสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์เช่นเดียวกับปลาวาฬ บ้างก็ว่าเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีชีวิตอยู่ในโลก แต่โดยความเป็นจริง ไดโนเสาร์มี ขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมากมาย ตั้งแต่ขนาดใหญ่มหึมา น้ำหนักกว่า 100 ตัน สูงมากกว่า 100 ฟุต จนถึงพวกที่ขนาดเล็ก ๆ บางชนิดก็มีขนาดเล็กกว่าไก่ บางพวกเดินสี่ขา บางพวกก็เดินและวิ่งบนขาหลัง 2 ข้าง บางพวกกินแต่พืชเป็นอาหาร ในขณะที่อีกพวกหนึ่งกินเนื้อเช่นเดียวกับสัตว์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ไดโนเสาร์พวกแรกปรากฎขึ้นมาในโลกในช่วงตอนปลายของยุคไทรแอสสิกเมื่อกว่า225ล้านปีมาแล้วเป็นเวลาที่ทวีปทั้งหลาย ยังต่อเป็นผืนเดียวกัน สัตว์เลื้อยคลานพวกนี้มีชีวิตอยู่และมีวิวัฒนาการตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง 160 ล้านปี กระจัด กระจายแพร่หลายอยู่ทั่วผืนแผ่นดินในโลก แล้วจึงได้สูญพันธุ์ไปหมดในปลายยุคครีเทชียสหรือเมื่อ 65 ล้านปีที่ล่วงมาแล้ว ในขณะที่ต้นตระกูลของมนุษย์เพิ่งจะปรากฎในโลกเมื่อ 5 ล้านปีที่ผ่านมา หลังจาก ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้วถึง 60 ล้านปี และเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ปัจจุบันนั้นเพิ่งเริ่มต้นมาเมื่อไม่เกินหนึ่งแสนปีมานี่เองมนุษย์มักจะคิดว่าไดโนเสาร์นั้นโง่และธรรมชาติสร้างมาไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม จึงทำให้มันต้องสูญพันธุ์ไปทั้งหมด ความคิดนี้ไม่ถูก โดยแท้จริงแล้วไดโนเสาร์ได้เจริญแพร่หลายเป็น เวลายาวนานกว่า 30 เท่า ที่มนุษย์ได้อาศัยอยู่ในโลก ตลอดช่วงเวลาอันยาวนานนี้ไดโนเสาร์ได้มีวิวัฒนา การออกไปเป็นวงศ์สกุลต่าง ๆ กันมากมาย เท่าที่ค้นพบและจำแนกแล้วประมาณ 340 ชนิด และคาดว่า ยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่กำลังรอคอยการค้นพบอยู่ในที่ต่าง ๆ กันทั่วโลก ทุกวันนี้ ทั่วโลกมีคณะสำรวจ ไดโนเสาร์อยู่ประมาณ 100 คณะทำให้มีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ประมาณว่ามี การค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขี้น 1 ชนิดในทุกสัปดาห์ นักโบราณชีววิทยา แบ่งไดโนเสาร์ออกเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ โดยอาศัยความแตกต่างของกระดูกเชิงกราน คือ
  1. พวกซอริสเซียน (Saurischians) มีกระดูกเชิง กรานเป็นแบบสัตว์เลื้อยคลาน คือ กระดูก พิวบิส และอิสเชียมแยกออกจากกันเป็นมุมกว้าง
  2. พวกออรืนิธิสเชียน (Ornithiscians) มีกระดูก เชิงกรานเป็นแบบนก คือ กระดูกทั้ง 2 (พิวบิสและอิสเชียม) ชี้ไปทางด้านหลัง
 
ฟันของไดโนเสาร์ซอโรพอด พบจากแหล่งขุดค้นวัดสักกะวัน จ.กาฬสินธุ์
ฟันกรามล่างของไดโนเสาร์ปากนกแก้ว ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี
 
การค้นพบไดโนเสาร์

นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องฟอสซิลได้ค้นพบไดโนเสาร์มานานแล้ว แต่มีการตั้งชื่อไดโนเสาร์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2384(ค.ศ.1841)ในการประชุมของสมาคมวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าในประเทศอังกฤษโดยศาสตราจารย์ ริชาร์ด โอเวน หลังจากนั้นทำให้ฟอสซิลของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่ได้ค้นพบกันมานานเป็นที่รู้จักแพร่หลาย
คำว่าไดโนเสาร์(dinosaur) มาจากภาษากรีกโดยคำว่า"ไดโน"(deinos) แปลว่าน่ากลัวมาก และ"ซอรอส" หมายถึงสัตว์เลื้อยคลาน

การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์
ปัจจุบันไดโนเสาร์ได้สูญพันธุ์ไปแล้วและมีแนวความคิดหรือสมมติฐานเกี่ยวกับการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ มากมายโดยอ้างถึงสาเหตุต่างๆเช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการระเบิดจากนอกโลก(supernova) เป็นต้น แต่มีอยู่ 2 สมมติฐานที่ได้รับความสนใจและเป็นที่ถกเถียงกัน อย่างเข้มข้นได้แก่
  • การชนโลกของดาวเคราะห์น้อย(Asteroid Impact or K-T Impact)
    การชนทำให้เกิดการระเบิดและฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองสู่บรรยากาศโลก เป็นเสมือนม่านบดบังแสงอาทิตย์ เป็นผลให้เกิดความมืดมิดและความหนาวเย็นอย่างฉับพลันอยู่นานเป็นเดือนๆจนไดโนเสาร์ไม่สามารถ มีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว
    แนวความคิดหรือสมมติฐานนี้อ้างหลักฐานการพบธาตุIridium ปริมาณมากกว่าปกติในชั้น clay บางๆที่มีอายุอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างยุค Cretaceous และ Tertiary(K-T boundary) ใน บริเวณต่างๆของโลก นอกจากนั้นยังพบโครงสร้างที่เชื่อว่าเกิดจากการชนของดาวเคราะน้อย คือChicxulub Structure ที่แหลม Yucatan ในประเทศเมกซิโก
  • การระเบิดของภูเขาไฟที่ที่ราบสูง Deccan ในประเทศอินเดีย(Deccan Traps Volcanism)
    การระเบิดครั้งนี้เป็นการระเบิดที่รุนแรงที่สุดในช่วงอายุของโลกและเป็นการระเบิดที่เนื่องมาจาก mantle plume หรือ hotspot จากใต้โลก เป็นผลทำให้ลาวาชนิด basaltic (basaltic lava) จำนวนมหาศาลไหลสู่เปลือกโลก ปกคลุมพื้นที่กว่า 1 ล้านตารางไมล์ และหนากว่า 1 ไมล์ เกิด mantle degassing ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำถูกนำขึ้นสู่ผิวโลกด้วยอัตราที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดชั้น greenhouse gases ในบรรยากาศกักเก็บความร้อน จากดวงอาทิตย์ไว้ที่ผิวของโลกไม่ให้มีการถ่ายเท อุณหภูมิจึงสูงขึ้น รวมทั้งทำให้วัฏจักรของคาร์บอนและออกซิเจน เปลี่ยนแปลงจนนำมาสู่การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์
 
ส่วนปลายของกระดูกอิสเซียมของไดโนเสาร์โปรซอโรพอด
 
ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ในประเทศไทย
เมื่อไดโนเสาร์ตาย ส่วนอ่อนๆ เช่น เนื้อและหนังจะเน่าเปื่อยหลุดไป เหลือแต่ส่วนแข็ง เช่น กระดูกและฟัน ซึ่งจะถูกโคลนและทรายทับถมเอาไว้ ถ้าการทับถมของโคลนทรายเกิดขึ้นอย่าวรวดเร็วก็จะคงเรียงรายต่อกันในตำแหน่งที่มันเคยอยู่เป็นโครงร่าง แต่หากการทับถมเกิดขึ้นอย่าง ช้าๆกระดูกก็จะมีโอกาสถูกทำให้กระจัดกระจายปะปนกัน การทับถมของโคลนทรายทำให้อากาศและออกซิเจนซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเติบโตของแบคทีเรียไม่สามารถเข้าถึง ซากได้ ขณะเดียวกันน้ำและโคลนที่เต็มไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลไซต์ เหล็กซัลไฟด์และซิลิก้าก็ค่อยๆซึมเข้าไปในเนื้อกระดูก อุดตันโพรงและช่องว่างที่มีอยู่ ทำให้กระดูกเหล่านั้นแกร่งขึ้น สามารถรับน้ำหนักของหิน ดิน ทรายที่ทับถมต่อมาภายหลังได้ นานๆเข้ากระดูกจะกลายเป็นหิน มีเพียงฟันที่ไม่ค่อยจะถูกแปรสภาพเท่าไรเนื่องจากฟันเป็นส่วนที่แข็งที่สุด บางครั้งแร่ธาตุบางอย่างเข้าไปกัดกร่อนละลายกระดูกและทิ้งลักษณะกระดูกไว้เป็นโพรง โพรงเหล่านี้จึงกลายเป็นเสมือนแม่พิมพ์และต่อมาเมื่อแร่ธาตุอื่นเข้าไปอยู่เต็มโพรงก็จะเกิดเป็นรูปหล่อ ของชิ้นกระดูก บางครั้งเมื่อไดโนเสาร์ตายใหม่ๆแล้วถูกทับถมด้วยโคลนแล้วเนื้อหนังเปื่อยเน่าเป็นโพรงก็จะเกิดรูปหล่อของรอยผิวหนังทำให้เรารู้ลักษณะของผิวหนัง ในที่บางแห่งซากไดโนเสาร์ ถูกน้ำพัดพามาทับถมอยู่ด้วยกันเกิดเป็นชั้นสะสมของกระดูกไดโนเสาร์
นอกจากฟอสซิลกระดูก ฟันและร่องรอยของผิวหนังแล้ว ไดโนเสาร์ยังทิ้งรอยเท้าไว้บนโคลน ฟอสซิลรอยเท้าเหล่านี้ทำให้ทราบ ถึงชนิด ลักษณะท่าทางของไดโนเสาร์เช่น เดิน 2 ขาหรือ 4 ขา เชื่องช้าหรือว่องไว อยู่เป็นฝูงหรืออยู่เดี่ยวๆ บางครั้งพบมูลของไดโนเสาร์กลายเป็นฟอสซิล เรียกว่า คอบโปรไลท์ ซึ่งทำให้ทราบถึงขนาดและลักษณะของลำไส้ ไข่ไดโนเสาร์ที่พบเป็นฟอสซิลก็ทำให้ทราบว่าไดโนเสาร์ออกลูกเป็นไข่ บางครั้งพบตัวอ่อนอยู่ในไข่ทำให้รู้ว่าเป็นไข่ของไดโนเสาร์ชนิดไหน นอกจากนี้ยังมีการค้นพบโครงกระดูกไดโนเสาร์ในลักษณะกำลังกกไข่อยู่ในรัง ทำให้รู้ว่าไดโนเสาร์บางชนิดก็ดูแลลูกอ่อนด้วย
เมื่อยุคไดโนเสาร์ผ่านไปหลายล้านปีชั้นของทรายและโคลนยังคงทับซากไดโนเสาร์ไว้จนกลายเป็นหินและถูกผนึก ไว้ในชั้นหินด้วยซีเมนต์ธรรมชาติได้แก่ โคลนทราย จนเมื่อพื้นผิวโลกมีการเคลื่อนตัว ชั้นหินบางส่วนถูกยกตัวสูงขึ้นแล้วเกิดการกัดกร่อนทำลายชั้นหินโดยความร้อนจากดวงอาทิตย์ ความเย็นจากน้ำแข็ง ฝน และลม จนกระทั่งถึงชั้นที่มีฟอสซิลอยู่ทำให้บางส่วนของฟอสซิลโผล่ออกมาเป็นร่องรอยให้นักวิทยาศาสตร์มาขุดค้นต่อไป
เนื่องจากไดโนเสาร์เป็นสัตว์บก มีชีวิตอยู่ในช่วงยุค Triassic ถึง Cretaceous หรือประมาณ 245-65 ล้านปีมาแล้ว ดังนั้นซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์จึงพบอยู่ในชั้นหินตะกอนที่สะสมตัวบนบกในช่วงยุค Triassic ถึง Cretaceous หรือหินในช่วงมหายุค Mesozoic จากการสำรวจธรณีวิทยาในประเทศไทย พบว่าหินที่มีอายุดังกล่าวพบโผล่อยู่ทั่วไปในบริเวณที่ราบสูงโคราชและพบเป็นแห่งๆในภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย ชั้นหินดังกล่าวประกอบด้วย หินดินดาน หินทรายแป้ง หินทรายและ หินกรวดมนมีสีน้ำตาลแดงเป็นส่วนใหญ่ ตอนบนของหินชุดนี้มีชั้นของเกลือหินและยิปซั่มอยู่ด้วย เนื่องจากชั้นหินเหล่านี้มีสีแดงเกือบทั้งหมดจึงเรียกหินชุดนี้ว่า ชั้นหินตะกอนแดง(red bed) ซึ่ง เรารู้จักกันในชื่อ กลุ่มหินโคราช หินกลุ่มนี้มีความหนากว่า 4,000 เมตร ดังนั้นจึงพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากมายหลาย แห่ง เช่น ภูเวียง ภูพาน และภูหลวงเป็นต้น
การค้นหาฟอสซิลของไดโนเสาร์ในประเทศไทยเพิ่งเริ่มต้นในทศวรรษที่ผ่านมานี้เองโดยโครงการศึกษาวิจัยฟอสซิลของสัตว์ มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณี ก่อนหน้านี้มีรายงานการวิจัยฟอสซิลของสัตว์มีกระดูกสันหลังน้อยมาก ในปีพ.ศ.2519 กรมทรัพยากรธรณีได้ค้นพบกระดูกขนาดใหญ่ จากภูเวียง จังหวัดขอนแก่นแต่ผลการวิจัยขณะนั้นทราบเพียงว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด พวกกินพืช เดิน 4 เท้า คอยาว หางยาว มีความยาวประมาณ 15 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นรายงานการ ค้นพบไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมาในปีพ.ศ.2524 และ2525ได้มีการสำรวจที่บริเวณภูเวียงอีกทำให้พบกระดูกส่วนต่างๆของไดโนเสาร์และสัตว์อื่นๆเป็นจำนวนมากอยู่ในชั้นหิน จึง นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการค้นหาฟอสซิลไดโนเสาร์อย่างจริงจัง

ฟอสซิลไดโนเสาร์ในประเทศไทย

ฟอสซิลไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทยจนถึงปัจจุบันมีอายุอยู่ระหว่าง 100-200 ล้านปีมาแล้ว แบ่งเป็นยุคต่างๆดังนี้
  • ยุค Triassic ตอนปลาย
    ในปีพ.ศ.2535 กรมทรัพยากรธรณีสำรวจพบกระดูกสะโพกส่วนหน้าของไดโนเสาร์โปรซอโรพอด ในชั้นหินทรายสีแดงของหมวดหิน น้ำพอง ในเขตอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุประมาณ 200ล้านปี นับเป็นกระดูกไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นการพบฟอสซิลของพวก โปรซอโรพอดเป็นครั้งแรกในภูมิภาคนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับฟอสซิลชนิดนี้จากแหล่งต่างๆทั่วโลก พบว่าโปรซอโรพอดของไทยมีขนาดใหญ่ แข็งแรง อาจยาวถึง 8 เมตร โปรซอโรพอด เป็นไดโนเสาร์ที่กินพืช ฟันมีรอยหยักแบบเลื่อยอย่างหยาบ มีคดยาว เท้าหน้ามีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าเท้าหลัง มีเล็บแหลมคม
  • ยุค Jurassic
    ในปีพ.ศ.2539 คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศสได้พบแหล่งฟอสซิลฟันไดโนเสาร์ที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ในชั้นหินหมวด ภูกระดึง อายุ 150-190 ล้านปี เป็นฟันของไดโนเสาร์เทอโรพอดซึ่งกินเนื้อมีลักษณะหยักแบบฟันเลื่อย ฟันของซอโรพอดและฟันของสเตโกซอร์ซึ่งพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
  • ยุคCretaceous
    ยังไม่พบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์เลย พบเพียงแต่รอยเท้าไดโนเสาร์ ทำให้ทราบถึงรูปร่างลักษณะ ขนาด ชนิดและลักษณะการเดิน ชั้นหินที่พบได้แก่หมวดหินพระวิหารอายุประมาณ 140 ล้านปี บริเวณที่พบมี 4 แห่ง ได้แก่
    • ลานหินป่าชาด ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
      พบรอยเท้าไดโนเสาร์ซึ่งทำให้ทราบว่าเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ เดินด้วยขาหลัง เคลื่อนไหวว่องไว มีขนาดเล็ก นอกจากนี้ ยังพบรอยเท้าไดโนเสาร์พวกคาร์โนซอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่า
    • น้ำใสใหญ่ เขาใหญ่ จังหวัดปราจีณบุรี
      พบรอยเท้าไดโนเสาร์เทอโรพอดซึ่งเป็นไดโนเสาร์เดิน 2 เท้า ขนาดใหญ่ มีรอยเท้ากว้าง 26 ซม. ยาว 31 ซม. รวมทั้งพวก ออร์นิโธพอด และซีลูโรซอร์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็ก รอยเท้ากว้าง 14 ซม. ยาว 13.7 ซม.
    • ภูแฝก กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
      พบรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่พวกคาร์โนซอร์ รอยเท้ากว้าง 40 ซม. ยาว 45 ซม.
    • ภูเก้า จังหวัดหนองบัวลำภู
      พบรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดย่อม แต่ยังไม่ได้ศึกษารายละเอียด
  • ฟอสซิลไดโนเสาร์ในชั้นหินหมวดเสาขัว อายุ 130 ล้านปี
    พบฟอสซิลไดโนเสาร์ที่บริเวณประตูตีหมา ภูเวียง และบริเวณใกล้เคียงหลายชนิดคือ
    • กระดูกที่มีลักษณะใกล้เคียงกับซอโรพอดจากอเมริกาเหนือซึ่งเป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ มีความยาวถึง 15 เมตร คอยาวหางยาว เดิน 4 เท้า กินพืชเป็นอาหาร ต่อมาพบกระดูกไดโนเสาร์ชนิดนี้ที่มีสภาพดีทำให้ทราบว่าเป็น ฟอสซิลของไดโนเสาร์ซอโรพอดสกุลใหม่ซึ่งได้รับ พระราชทานพระราชานุญาตอันเชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเป็นชื่อไดโนเสาร์นี้คือ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน(Phuwiangosaurus sirindhornae)
    • ฟันของไดโนเสาร์สกุลใหม่และชนิดใหม่ชื่อสยามโมซอรัส สุธีธรนี(Siamosaurus suteethorni)
    • กระดูกขาหลังท่อนล่างและขาหน้าท่อนบนของไดโนเสาร์ซีลูโรซอร์(Coelurosaur) ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็ก มากชนิดหนึ่งเดินด้วย 2 ขาหลัง และกินเนื้อเป็นอาหาร
      ดังนั้นบริเวณภูเวียงจึงถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติในปีพ.ศ. 2535 และเป็นอุทยานไดโนเสาร์แห่งแรกใน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้